
ในปี 2568 นี้เป็นปีที่สำคัญสำหรับนักลงทุนไทยที่ลงทุนใน LTF นับตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงปีสุดท้ายที่ LTF สามารถลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีได้ เนื่องจากเป็นการครบกำหนดทั้งหมดของกองทุน LTF นำมาซึ่งคำถามสำคัญ ทำอย่างไรต่อดี
ก่อนตัดสินใจควรสำรวจปัจจัยสำคัญเหล่านี้
1. สภาพคล่องการเงิน
- หากมีปัญหาด้านการเงิน LTF ที่ครบกำหนดจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องหรือใช้ลดภาระหนี้สินได้
- แต่ถ้าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ควรพิจารณาถือครองต่อเพื่อโอกาสในการเติบโตในระยะยาว หรือถือเพื่อรอรับเงินปันผล หากกองทุนที่ลงทุนมีนโยบายจ่ายเงินปันผล
2. ผลตอบแทนสุทธิ
- ประเมินกำไรหรือขาดทุนสุทธิ โดยคำนวณทั้ง #ปันผลที่ได้รับ และ #สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ผ่านมา
- หากมีกำไร การขายเพื่อรับผลตอบแทนอาจเป็นทางเลือก แต่ถ้าขาดทุน ควรพิจารณาลงทุนใหม่เพื่อชดเชย
3. ความต้องการสิทธิลดหย่อนภาษี
- หากยังต้องการลดหย่อนภาษี การ reinvest ผ่านกองทุน RMF หรือ ThaiESG อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม
สำหรับนักลงทุนที่ต้องการสภาพคล่อง แนะนำให้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อป้องกันการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และอาจทำให้เสียโอกาสการออมเงินเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาว
ข้อดี เพิ่มสภาพคล่องและลดความเสี่ยงจากตลาดหุ้น
ข้อเสีย พลาดโอกาสการเติบโตของพอร์ตในระยะยาว
แต่หากท่านเป็นนักลงทุนที่ไม่มีปัญหาด้านสภาพคล่อง การ reinvest ยังคงทางเลือกหลักที่เราแนะนำ ข้อดีของการ reinvest หลัง LTF ครบกำหนด
- เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาว
- ลดความสูญเสียจากการขาดทุนเดิมผ่านการลงทุนใหม่
- ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากเลือก RMF หรือ ThaiESG
ตัวอย่างทางเลือกในการ reinvest
1. ลงทุนผ่านกองทุน ThaiESG
“กองทุนตราสารหนี้” อาทิ KKP GB THAI ESG และ K-ESGSI-ThaiESG
เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงต่ำ และสามารถสับเปลี่ยนไปยังกองทุนหุ้น ThaiESG ในบลจ.เดียวกันได้ ในยามที่ประเมินแล้วว่าสินทรัพย์หลักอย่างหุ้นไทย ปรับตัวลงมาถึงระดับที่น่าสนใจ หรือมีโอกาสเติบโต
“กองทุนผสม” อาทิ KTAG70/30-ThaiESG และ ES-ESG3070-ThaiESG-A
เหมาะสมกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง มีส่วนผสมทั้งหุ้นไทยและตราสารหนี้
“กองทุนหุ้นไทย” อาทิ K-TNZ-ThaiESG และ KKP EQ THAI ESG
เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง และสามารถสับเปลี่ยนไปยังกองทุนตราสารหนี้ในบลจ. เดียวกันได้ เมื่อพึงพอใจ
2. ลงทุนผ่านกองทุน RMF
เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่หลากหลายมากขึ้น หนุนโอกาสสร้างผลตอบแทนฟื้นคืนส่วนชดเชยผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจาก LTF ได้ พร้อมกับได้ลดหย่อนภาษีอีกครั้ง
3. ลงทุนผ่านกองทุนรวม หรือ สินทรัพย์อื่นๆ
เพื่อกระจายความเสี่ยง อาทิ กองทุนส่วนบุคคล GSA CORAL, หรือ Global Allocation และหุ้นกู้คุณภาพดีจำนวนมาก รวมถึงกองทุนรวมทั่วๆ ไป
สำหรับผู้ขาย LTF ในปีนี้และไม่ต้องการลดหย่อนภาษีต่อ สามารถเลือกลงทุนได้อย่างอิสระ บนความเสี่ยงที่ท่านสามารถรับได้ เช่น
“กองทุนหุ้นโลก” โอกาสเติบโตไปพร้อมกับประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง อาทิ KKP GNP, KKP PGE-UH, UESG, KFGG-A
“หุ้นต่างประเทศรายตัว” หรือ “ETF” เพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ๆ จากการลงทุนในตลาดต่างประเทศ อาทิ GOOGL, NVDIA, TSMC, QQQ, SPY ฯลฯ
หรือจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยง ผสมผสานแบบหลากหลาย ทั้ง กองทุนรวม, ETF, Structure Note, หุ้นต่างประเทศ และ Private Assets
FINANSIA WEALTH เรามุ่งเน้นการให้บริการด้านการวางแผนเพื่อการลงทุน การวางแผนเพื่อเกษียณอายุ และการจัดการสินทรัพย์ครอบครัว ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินการลงทุนที่หลากหลายครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้า พร้อมส่งเสริมความรู้ด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
คำเตือน : การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุน ทั้งนี้หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดต่อเปิดบัญชีได้ที่
ฝ่ายบริหารสินทรัพย์ลงทุนลูกค้า
☎️ 02-625-2403
✉️ wealth-management@fnsyrus.com
ติดตามเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงก์ด้านล่าง
Web : https://www.finansiawealth.com/
Facebook : https://www.facebook.com/FinansiaWealth?mibextid=LQQJ4d
Yotube : https://youtube.com/@finansiasyrusfnsyrus?si=zgv2lBycsiXBkaKd