KNOWLEDGE LIBRARY

คลังความรู้ทั้งหมด

Tag List

ทั้งหมด

เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.2567 กระทรวงการคลัง ร่วมกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประกาศชงเงื่อนไขใหม่ ThaiESG ดังนี้

เงื่อนไข Thai ESG ใหม่

1. ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และซื้อได้สูงสุดไม่เกิน  300,000 บาท จากเดิมสูงสุด 100,000 บาท

2. ระยะเวลาถือครอง 5 ปี จากเดิม 8 ปี (นับจากวันที่ซื้อ)

3. ต้องลงทุนใน หุ้นใน SET/MAI โดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม (E) / ESG หรือเปิดเผยข้อมูล ก๊าซเรือนกระจก หรือระดับการประเมิน cg rating ของ IOD และมีการเปิดเผยข้อมูลด้านบรรษัทภิบาล (G) ในระดับ และ รูปแบบ ที่ ก.ล.ต. กำหนด, ESG Bond และ Green Token

4. หุ้นไทยที่อยู่ในดัชนี ESG ที่ได้รับความเชื่อถือระดับสากลมากกว่า  80% จากเดิมส่วนใหญ่เน้นที่ ESG Bond และ Green Token เท่านั้น

เราจึงแนะนำให้นักลงทุนพิจารณาปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการลงทุน ด้วยกลยุทธ์การลงทุนสไตล์ Asset Allocation กับกองทุน ThaiESG จาก บลจ. KKPAM และ KAsset  ชูจุดเด่น

  • สะดวกต่อการ “สับเปลี่ยนกอง (Fund Switching) ” ระหว่างกองทุนหุ้นและกองทุนตราสารหนี้ ตามมุมมองการลงทุนในแต่ละช่วงเวลา
  • เป็นการกระจายการลงทุน พร้อมลดความเสี่ยงของพอร์ตโดยรวม
  • เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาว

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเกียรตินาคินภัทร (KKPAM)

  • 𝐊𝐊𝐏 𝐆𝐁 𝐓𝐇𝐀𝐈 𝐄𝐒𝐆
  • 𝐊𝐊𝐏 𝐄𝐐 𝐓𝐇𝐀𝐈 𝐄𝐒𝐆   หรือ

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย (KAsset)

  • 𝐊-𝐄𝐒𝐆𝐒𝐈-𝐓𝐡𝐚𝐢𝐄𝐒𝐆
  • 𝐊-𝐓𝐍𝐙-𝐓𝐡𝐚𝐢𝐄𝐒𝐆

คำเตือน : การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดต่อเปิดบัญชีได้ที่ : 

ฝ่ายบริหารสินทรัพย์ลงทุนลูกค้า

02-625-2442

wealth-management@fnsyrus.com

ติดตามเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงก์ด้านล่าง

Web : https://www.finansiawealth.com/

Facebook : https://www.facebook.com/FinansiaWealth?mibextid=LQQJ4d

Yotube : https://youtube.com/@finansiasyrusfnsyrus?si=zgv2lBycsiXBkaKd

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้มีหลายข่าวที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องของการแบ่งทรัพย์สินของครอบครัวถึงขั้นยื่นฟ้องร้องกันซึ่งนำไปสู่ความแตกแยกหรือร้ายแรงสุดถึงขั้นมีการฆาตรกรรมกันเกิดขึ้นในครอบครัว

เรื่องของการจัดการทรัพย์สินครอบครัวนั้นเป็นเรื่องใหญ่ที่ผู้คนส่วนใหญ่มักไม่ได้นึกถึงมากนัก แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นนับเป็นเรื่องที่ใหญ่และแก้ไขได้ค่อนข้างยากและใช้เวลานานเนื่องจากมีเรื่องของทรัพย์สินและเรื่องของกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยดังนั้นการป้องกันไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นจึงเป็นวิธีที่ง่ายกว่าการมาแก้ไขในภายหลัง

Finansia Wealth เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการทรัพย์สินครอบครัวจึงได้รวบรวมข้อผิดพลาดที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะนึกไม่ถึง มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้างที่ต้องรู้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในการจัดการทรัพย์สินของครอบครัวขึ้นในอนาคต

1. ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินครอบครัว ทำให้ไม่ได้เตรียมการล่วงหน้า

เพราะความไม่รู้และไม่ได้เห็นความสำคัญของการจัดการทรัพย์สินครอบครัว เมื่อเกิดปัญหาขึ้นทำให้การแก้ปัญหานั้นเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการศึกษาหาข้อมูลหรือความรู้เพิ่มเติมเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างมาก

2. ใช้เครื่องมือและบริการทางการเงินไม่เหมาะสม เครื่องมือและบริการทางการเงินมีมากมายให้เลือกใช้ แต่หากเลือกใช้ผิดประเภท ผิดจุดประสงค์ เช่น การมองว่าเงินฝากคือสภาพคล่องแต่ในความเป็นจริงแล้วอาจจะไม่ใช่สภาพคล่องก็ได้ บางกรณีอาจจะไม่สามารถถอนเงินออกมาได้ในยามจำเป็น หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการลงทุน ที่มีความผัน ก็สามารถขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นการใช้เครื่องมือและบริการทางการเงินให้เหมาะสมควบคู่ไปกับการจัดการทรัพย์สินครอบครัวจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

3. มีทรัพย์สินหลายอย่างแต่กระจัดกระจาย ส่งผลให้ดูแลสินทรัพย์ได้ยาก ข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญมาก โดยเฉพาะท่านที่มีทรัพย์สินเยอะหรือเป็นเจ้าของกิจการ ทรัพย์สินที่ลูกค้ามีอยู่จะมีมากมายทั้งทรัพย์สินที่เป็นชื่อของตัวเอง ทรัพย์สินที่เป็นชื่อของคนในครอบครัว และทรัพย์สินที่เป็นชื่อของบริษัท ดังนั้นหากไม่มีการจัดระเบียบใหม่และไม่บริหารจัดการให้ดี จะทำให้การจัดการทรัพย์สินในภาพรวมนั้นจัดการได้ยากและล่าช้า

4. มองข้ามการใช้เครื่องมือทางกฎหมาย จริงอยู่ในเรื่องที่ว่าการจัดการทรัพย์สินนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือทางการเงินเป็นหลัก แต่บางครั้งท่านอาจจะมองข้ามการใช้เครื่องมือทางกฎหมายไป เมื่อเกิดปัญหาขึ้นสุดท้ายใช้เครื่องมือทางกฎหมายเข้ามาช่วยจะส่งผลให้ครอบครัวมีปัญหาตามมา เพราะฉนั้นในการเข้าใจกฎหมายที่จำเป็นและเกี่ยวกับกฎหมายของครอบครัวจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายและลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

5. ทำประกันชีวิตไม่สัมพันธ์กับความต้องการ แน่นอนว่าการปิดความเสี่ยงที่ดีอย่างหนึ่งคือ “การทำประกันชีวิต” คนส่วนมากจึงเลือกทำประกันชีวิตแต่อาจจะไม่สัมพันธ์กับความต้องการของคนภายในครอบครัวจริงๆ ส่งผลให้จ่ายค่าเบี้ยประกันมากเกินความจำเป็น ทำให้สิ่งที่ได้มาไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป หรืออาจจะทำประกันความเสี่ยงน้อยเกินไปกับสิ่งที่จำเป็นสำหรับครอบครัว จึงจำเป็นที่จะต้องมาทบทวนว่าคนในครอบครัวมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ประกันในเรื่องใดบ้าง เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเงินก้อนใหญ่และจ่ายเท่าที่จำเป็นต้องใช้

6. ขาดการเตรียมพร้อมทั้งก่อนและหลังเสียชีวิต ในเรื่องของการจัดการทรัพย์สินครอบครัวนั้น ในตอนที่มีชีวิตและตอนที่เสียชีวิตไปแล้ว การจัดการทรัพย์สินนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ฉนั้นผู้ที่เป็นผู้นำครอบครัวต้องเข้าใจถึงการจัดการทรัพย์สินทั้งก่อนและหลังเสียชีวิต เพื่อที่จะได้วางแผนอย่างครบถ้วนไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคตเวลาที่ท่านไม่อยู่แล้ว

ให้ FInansia Wealth ช่วยวางแผนในทุกช่วงเวลา ตั้งแต่เริ่มต้นความมั่งคั่ง ไปจนถึงเมื่อใกล้เวลาต้องส่งต่อด้วย บริการที่ปรึกษาด้านการจัดการทรัพย์สินครอบครัว (Family Wealth Planning) ด้วยเครื่องมือที่จบวงจรทั้ง ด้านกฎหมาย ภาษี และบัญชี ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพย์สินของครอบครัว ด้านการเจรจา เช่น การจัดตั้งธรรมนูญครอบครัว ด้านความคุ้มครอง เช่น ประกันชีวิต และประกันวินาศภัยที่เหมาะสม และ ด้านการลงทุน เช่น กองทุนรวม, กองทุนส่วนบุคคล หุ้นกู้ หรือ ETF ที่ครอบคลุมสินทรัพย์การลงทุนทั่วโลก

ครอบคลุมทุกด้านของการจัดการทรัพย์สินครอบครัว  ทั้งการบริหารภาษีที่เกี่ยวข้องกับจัดการทรัพย์สินครอบครัว, การจัดเตรียมช่องทางการส่งต่ออย่างราบรื่น ไปพร้อมๆ กับทำให้ทรัพย์สินเหล่านั้นเติบโตตามเป้าประสงค์ได้ในระยะยาว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดต่อเปิดบัญชีได้ที่ : 

ฝ่ายบริหารสินทรัพย์ลงทุนลูกค้า

02-625-2442

wealth-management@fnsyrus.com

ติดตามเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงก์ด้านล่าง

Web : https://www.finansiawealth.com/

Facebook : https://www.facebook.com/FinansiaWealth?mibextid=LQQJ4d

Yotube : https://youtube.com/@finansiasyrusfnsyrus?si=zgv2lBycsiXBkaKd