KNOWLEDGE LIBRARY

คลังความรู้ทั้งหมด

Tag List

ทั้งหมด

ในปี 2568 นี้เป็นปีที่สำคัญสำหรับนักลงทุนไทยที่ลงทุนใน LTF นับตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงปีสุดท้ายที่ LTF สามารถลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีได้ เนื่องจากเป็นการครบกำหนดทั้งหมดของกองทุน LTF นำมาซึ่งคำถามสำคัญ ทำอย่างไรต่อดี

ก่อนตัดสินใจควรสำรวจปัจจัยสำคัญเหล่านี้

1. สภาพคล่องการเงิน

  • หากมีปัญหาด้านการเงิน LTF ที่ครบกำหนดจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องหรือใช้ลดภาระหนี้สินได้
  • แต่ถ้าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ควรพิจารณาถือครองต่อเพื่อโอกาสในการเติบโตในระยะยาว หรือถือเพื่อรอรับเงินปันผล หากกองทุนที่ลงทุนมีนโยบายจ่ายเงินปันผล

2. ผลตอบแทนสุทธิ

  • ประเมินกำไรหรือขาดทุนสุทธิ โดยคำนวณทั้ง #ปันผลที่ได้รับ และ #สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ผ่านมา
  • หากมีกำไร การขายเพื่อรับผลตอบแทนอาจเป็นทางเลือก แต่ถ้าขาดทุน ควรพิจารณาลงทุนใหม่เพื่อชดเชย

3. ความต้องการสิทธิลดหย่อนภาษี

  • หากยังต้องการลดหย่อนภาษี การ reinvest ผ่านกองทุน RMF หรือ ThaiESG อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม

สำหรับนักลงทุนที่ต้องการสภาพคล่อง แนะนำให้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อป้องกันการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และอาจทำให้เสียโอกาสการออมเงินเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาว

ข้อดี เพิ่มสภาพคล่องและลดความเสี่ยงจากตลาดหุ้น 

ข้อเสีย พลาดโอกาสการเติบโตของพอร์ตในระยะยาว

แต่หากท่านเป็นนักลงทุนที่ไม่มีปัญหาด้านสภาพคล่อง การ reinvest ยังคงทางเลือกหลักที่เราแนะนำ ข้อดีของการ reinvest หลัง LTF ครบกำหนด

  • เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาว
  • ลดความสูญเสียจากการขาดทุนเดิมผ่านการลงทุนใหม่
  • ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากเลือก RMF หรือ ThaiESG

ตัวอย่างทางเลือกในการ reinvest

1. ลงทุนผ่านกองทุน ThaiESG

“กองทุนตราสารหนี้” อาทิ KKP GB THAI ESG และ K-ESGSI-ThaiESG 

เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงต่ำ และสามารถสับเปลี่ยนไปยังกองทุนหุ้น ThaiESG ในบลจ.เดียวกันได้ ในยามที่ประเมินแล้วว่าสินทรัพย์หลักอย่างหุ้นไทย ปรับตัวลงมาถึงระดับที่น่าสนใจ หรือมีโอกาสเติบโต


“กองทุนผสม” อาทิ KTAG70/30-ThaiESG และ ES-ESG3070-ThaiESG-A 

เหมาะสมกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง มีส่วนผสมทั้งหุ้นไทยและตราสารหนี้

“กองทุนหุ้นไทย” อาทิ K-TNZ-ThaiESG และ KKP EQ THAI ESG 

เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง และสามารถสับเปลี่ยนไปยังกองทุนตราสารหนี้ในบลจ. เดียวกันได้ เมื่อพึงพอใจ

2. ลงทุนผ่านกองทุน RMF
เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่หลากหลายมากขึ้น หนุนโอกาสสร้างผลตอบแทนฟื้นคืนส่วนชดเชยผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจาก LTF ได้ พร้อมกับได้ลดหย่อนภาษีอีกครั้ง

3. ลงทุนผ่านกองทุนรวม หรือ สินทรัพย์อื่นๆ 

เพื่อกระจายความเสี่ยง อาทิ กองทุนส่วนบุคคล GSA CORAL, หรือ Global Allocation และหุ้นกู้คุณภาพดีจำนวนมาก รวมถึงกองทุนรวมทั่วๆ ไป

สำหรับผู้ขาย LTF ในปีนี้และไม่ต้องการลดหย่อนภาษีต่อ สามารถเลือกลงทุนได้อย่างอิสระ บนความเสี่ยงที่ท่านสามารถรับได้ เช่น 

“กองทุนหุ้นโลก” โอกาสเติบโตไปพร้อมกับประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง อาทิ  KKP GNP, KKP PGE-UH, UESG, KFGG-A


“หุ้นต่างประเทศรายตัว” หรือ “ETF” เพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ๆ จากการลงทุนในตลาดต่างประเทศ อาทิ GOOGL, NVDIA, TSMC, QQQ, SPY ฯลฯ 

หรือจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยง ผสมผสานแบบหลากหลาย ทั้ง กองทุนรวม, ETF, Structure Note, หุ้นต่างประเทศ และ Private Assets 

FINANSIA WEALTH เรามุ่งเน้นการให้บริการด้านการวางแผนเพื่อการลงทุน การวางแผนเพื่อเกษียณอายุ และการจัดการสินทรัพย์ครอบครัว ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินการลงทุนที่หลากหลายครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้า พร้อมส่งเสริมความรู้ด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่อง 

คำเตือน : การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุน ทั้งนี้หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดต่อเปิดบัญชีได้ที่
ฝ่ายบริหารสินทรัพย์ลงทุนลูกค้า
☎️ 02-625-2403
✉️ wealth-management@fnsyrus.com

ติดตามเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงก์ด้านล่าง
Web : https://www.finansiawealth.com/
Facebook : https://www.facebook.com/FinansiaWealth?mibextid=LQQJ4d
Yotube : https://youtube.com/@finansiasyrusfnsyrus?si=zgv2lBycsiXBkaKd

เกษียณไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เมื่อก้าวเข้าสู่วัย 50 การเตรียมตัวเพื่อเกษียณในอีก 5-10 ปีข้างหน้าถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเริ่มต้นอย่างรอบคอบ แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการรักษามาตรฐานคุณภาพชีวิตในช่วงวัยเกษียณให้ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกษียณ มาดูกันว่าควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

1. ประเมินรายจ่าย
เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์รายจ่ายในชีวิตประจำวันว่าแต่ละเดือนแต่ละปีเราใช้เงินประมาณเท่าไหร่ เพื่อให้ทราบว่าเงินหรือทรัพย์สินที่มีอยู่เพียงพอต่อการใช้จ่ายหลังเกษียณหรือไม่ การรู้จักรายจ่ายที่แท้จริงจะช่วยให้ท่านวางแผนการเงินได้อย่างแม่นยำและเหมาะสมกับความเป็นจริง

2. หาแหล่งรายได้หลังเกษียณ
หลังเกษียณ รายได้ประจำจากเงินเดือนหรือธุรกิจส่วนตัวอาจลดลง จึงจำเป็นจะต้องหาวิธีสร้างรายได้เพิ่มเติม ซึ่งอาจมาได้จากหลายทาง เช่น  เงินบำนาญ เงินบำนาญชราภาพประกันสังคม ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ เงินปันผลจากหุ้น ค่าเช่า เงินคืนจากประกันชีวิต หรือหากยังมีกำลัง การทำงานพิเศษหลังเกษียณก็เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยเพิ่มรายได้

3. ประเมินสุขภาพ
สุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะหลังเกษียณที่เราอาจไม่มีสวัสดิการจากบริษัทหรือประกันกลุ่มรองรับอีกต่อไป การตรวจสุขภาพและประเมินค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นล่วงหน้า จะช่วยลดความเสี่ยงและทำให้ท่านสามารถตั้งรับเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้อย่างทันท่วงที

4. ปรับการลงทุนที่เหมาะสม
การลงทุนในวัยนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเงินทุนเป็นหลัก เนื่องจากเงินที่มีอาจเป็นเงินก้อนสุดท้ายสำหรับชีวิตหลังเกษียณ จึงควรเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง และให้ผลตอบแทนที่มั่นคง เน้นการสร้างรายได้มากกว่าเติบโต หากไม่มีความเชี่ยวชาญ สามารถปรึกษานักวางแผนการเงินหรือที่ปรึกษาด้านการลงทุน เพื่อช่วยออกแบบแผนการลงทุนที่เหมาะสมกับคุณได้

5. จัดการทรัพย์สินที่มีอยู่
ทรัพย์สินที่มีอยู่ควรได้รับการจัดการอย่างเป็นระบบ สิ่งใดควรเก็บไว้ สิ่งใดสามารถขายเพื่อนำมาใช้ในอนาคตได้ ควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เนื่องจากทรัพย์สินบางอย่างอาจเป็นภาระหลังเกษียณ รวมถึงควรเริ่มวางแผนจัดทำพินัยกรรม เพื่อช่วยป้องกันปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงลดความขัดแย้งในครอบครัว 

การวางแผนเกษียณไม่ใช่เรื่องยาก หากเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้อย่างมีเป้าหมายและเป็นระบบ จะช่วยให้ชีวิตหลังเกษียณของคุณเต็มไปด้วยความมั่นคงและความสุขอย่างแท้จริง

FINANSIA WEALTH เรามุ่งเน้นการให้บริการด้านการวางแผนเพื่อการลงทุน การวางแผนเพื่อเกษียณอายุ และการจัดการสินทรัพย์ครอบครัว ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินการลงทุนที่หลากหลายครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้า พร้อมส่งเสริมความรู้ด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดต่อเปิดบัญชีได้ที่
ฝ่ายบริหารสินทรัพย์ลงทุนลูกค้า
☎️ 02-625-2403
✉️ wealth-management@fnsyrus.com

ติดตามเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงก์ด้านล่าง
Web : https://www.finansiawealth.com/
Facebook : https://www.facebook.com/FinansiaWealth?mibextid=LQQJ4d
Yotube : https://youtube.com/@finansiasyrusfnsyrus?si=zgv2lBycsiXBkaKd

เชื่อว่าหลายๆ คนลงทุนโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง “อิสรภาพทางการเงิน” จะดีกว่าไหม?…….ถ้าเราสามารถสร้างผลตอบแทนแบบสม่ำเสมอได้ในทุกสภาวะตลาด จากการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกที่เป็นได้มากกว่าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป กับ

GSA Coral Student Portfolio (GSA Coral) ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภท Purpose-Build Student Accommodation (PBSA) ทั้งการสร้างสินทรัพย์และให้บริการหอพักนักศึกษาในเมืองสำคัญต่างๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในตลาดชั้นนำอย่างยุโรปและสหรัฐฯ

GSA Coral แตกต่างจากการลงทุนใน Property Fund & REITs ประเภทอื่นๆ เนื่องจากหอพักนักศึกษาสามารถเพิ่มค่าเช่าได้ดีกว่าโรงงาน สำนักงาน หรือศูนย์การค้า ในอัตราการเช่ามากกว่า 90% ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถือได้ว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก เนื่องด้วยอสังหาฯ ที่ลงทุนอยู่ในเขตมหาวิทยาลัยชั้นนำ อาทิ King’s College London, London Business School, Purdue University และอื่นๆ

GSA Coral จึงเป็นกองทุนที่มีศักยภาพสูง สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างสม่ำเสมอ และทนทานต่อทุกสภาวะการลงทุน เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับวัฏจักรเศรษฐกิจหรือนโยบายภาครัฐ (ทั่วโลก) แต่อย่างใด

จุดเด่นของกองทุน

  • กระจายการลงทุนในหอพักนักศึกษามากที่สุดในตลาด 9 ประเทศ มากกว่า 41,000 เตียง
  • มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารมากกว่า 6 พันล้านดอลลาร์
  • มีโครงการที่ชัดเจนสำหรับหอพักที่กำลังสร้าง และหอพักที่เริ่มใช้งานแล้ว
  • ทีมผู้บริหาร GSA มีประสบการณ์ในตลาดหอพักนักศึกษามากกว่า 30 ปี
  • มี Joint Ventures เป็นสถาบันการเงินขนาดใหญ่ อาทิ Morgan Stanley ,GIC และ Invesco

โอกาส

  • GSA มีแผนเข้าซื้อสินทรัพย์ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง
  • จำนวนนักศึกษาในปัจจุบันมากกว่าจำนวนที่พักที่มีอยู่ ทำให้อุตสาหกรรมนี้มีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง
  • จำนวนนักศึกษาทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการหอพักนักศึกษาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
  • กองทุนรับรายได้สม่ำเสมอจากค่าเช่า และส่วนเพิ่มของมูลค่าทรัพย์สิน
  • ภาพรวมเศรษฐกิจ ระดับอัตราดอกเบี้ย และความผันผวนในตลาดหุ้น เป็นปัจจัยหนุนให้การลงทุนใน GSA Coral ยังคงน่าสนใจ

ผลการดำเนินงาน

  • ผลการดำเนินงานมั่นคงตลอดระยะเวลา 15 ปี เฉลี่ยที่ 6 – 7% ต่อปี ขณะที่ความผันผวนของผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ
  • ผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุนปี 2009 (as of Mar 24) อยู่ที่ 168.97%

จากที่กล่าวมาพิจารณาได้ว่า กองทุนนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ เนื่องจากมีข้อมูลสนับสนุนที่ค่อนข้างชัดเจน อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีความผันผวนต่ำ จึงเหมาะสำหรับการลงทุนในระยะยาว และการลงทุนเพื่อการเกษียณ

หมายเหตุ : กองทุนนี้เป็นกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) ลงทุนขั้นต่ำ 6 ล้านบาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ “บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)” ผู้จำหน่ายอย่างเป็นทางการเพียงผู้เดียวในไทย

คำเตือน : การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน | ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ฝ่ายบริหารสินทรัพย์ลงทุนลูกค้า

02-625-2442

wealth-management@fnsyrus.com

ติดตามเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงก์ด้านล่าง

Web : https://www.finansiawealth.com/

Facebook : https://www.facebook.com/FinansiaWealth?mibextid=LQQJ4d

Yotube : https://youtube.com/@finansiasyrusfnsyrus?si=zgv2lBycsiXBkaKd

ในปัจจุบันชีวิตเต็มไปด้วยเรื่องมากมายจนผู้คนส่วนใหญ่อาจจะละเลยหรือมองข้ามเรื่องของ “การวางแผนเกษียณ” เรื่องที่ไกลตัวและยังมีเวลา

จากสถิติทุกปีของคนไทยนั้นมีอายุยืนมากขึ้นมากกว่า 30 ปีก่อน และมีแนวโน้มที่จะอายุยืนมากยิ่งขึ้นด้วย เฉลี่ยแล้วอายุจะอยู่ที่ 80 ปีขึ้นไป คนโดยส่วนใหญ่มักจะเริ่มตระหนักและหันมาเริ่มวางแผนเกษีณตอนอายุ 40 ปี จึงทำให้มีเวลาในการเก็บออมเงินเพียง 20 ปีเท่านั้น เพื่อให้มีเพียงพอสำหรับ 20 – 25 ปีหลังเกษียณ อาจจะต้องกลับมาพิจารณากันว่า คุณเริ่มวางแผน “เกษียณ” ช้าไปหรือไม่ ?  

ในช่วงเวลาการเก็บออมเงิน 20 ปีนั้น ก็มีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันรวมถึงเป้าหมายทางการเงินอื่นๆระหว่างการใช้ชีวิตด้วย ทำให้การเก็บออมเงินนั้นเป็นไปได้ยากมาก จึงทำให้เงินเก็บหลังเกษียณอาจจะไม่เพียงพอ ทำให้หลังเกษียณอาจต้องขายทรัพย์สินที่สะสมมา หรือต้องพึ่งพาคนในครอบครัว ส่งผลต่อความสัมพันธ์และทำให้คุณภาพชีวิตหลังเกษียณนั้นแย่ลงตามไปด้วย

หากเราเข้าใจเรื่องการเตรียมตัวหลังเกษียณตั้งแต่วัยทำงาน เริ่มต้นเร็ว เก็บออมเงินอย่างถูกวิธี และลงทุนอย่างถูกต้อง จะทำให้เราสามารถจัดสรรเงินให้ลงตัวได้มากขึ้น และมีโอกาสที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังเกษียณมากขึ้นตามไปด้วย

แม้จะมีการเตรียมตัวเพื่อการเกษียณมาแล้ว ช่วงหลังเกษียณก็ยังคงจำเป็นจะต้องจัดการเรื่องของการเงินการลงทุนด้วยเช่นกัน เริ่มต้นจากประเมินรายจ่ายในชีวิตประจำวัน ประเมินสุขภาพของเราว่าเป็นอย่างไรบ้าง ถัดมาคือแหล่งรายได้หลังเกษียณมีอะไรบ้าง มีความแน่นอน มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน เพื่อช่วยให้เราบริหารสมดุลย์ของรายรับและรายจ่ายหลังเกษียณให้เพียงพอใช้ 20 – 25 ปี และที่สำคัญที่สุดคือต้องจัดการทรัพย์สินให้เรียบร้อยเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคตเวลาที่เราไม่อยู่แล้ว

การวางแผนก่อนเกษียณและการเตรียมตัวบริหารทรัพย์สินหลังเกษียณถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นอาจจะต้องเริ่มถามตัวเองว่า คุณเริ่มวางแผน “เกษียณ” ช้าไปหรือไม่ ? เพราะการ “เกษียณ” จึงไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป และสำคัญกว่านั้นคือยิ่งเริ่มเร็วยิ่งดี

เริ่มต้นวางแผนการเงินวันนี้ด้วยตัวของคุณเองง่ายๆ ตามขั้นตอนดังนี้

1.พิจารณาการใช้จ่ายแต่ละเดือนให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่ต้องการ เริ่มต้นลดสิ่งที่ไม่จำเป็น และเก็บออมให้มากขึ้น

2.เริ่มต้นเก็บออมเงินฉุกเฉินให้ได้ 3 – 6 เดือน เพื่อสร้างรากฐานการเงินให้แข็งแกร่ง

3.พิจารณาเป้าหมายทางการเงินแต่ละช่วงเวลา จำนวนเงินที่ใช้ และความสำคัญของเป้าหมาย เพื่อกำหนดวิธีการลงทุน สินทรัพย์ที่จะลงทุน และความเสี่ยงที่รับได้

4.แบ่งเงินลงทุนตามแผนการที่วางไว้ และทยอยลงทุนอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการ Dollar Cost Average (DCA) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ถึงแต่ละเป้าหมายที่ตั้งไว้

5.ติดตามผลการดำเนินงานของแผนการลงทุนทุกๆ 6 – 12 เดือน และ คอย Rebalance เพื่อให้พอร์ตการลงทุนอยู่ในระดับความเสี่ยง และโอกาสสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมกับเป้าหมายอยู่เสมอ

หรือให้ Finansia ช่วยให้เงินคุณทำงาน ด้วยทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย อาทิ Global Trading ที่จะเปิดโลกการลงทุนของคุณไปยังสินทรัพย์ทั่วโลก, กองทุนรวมมากกว่า 2,000 กองทุนทั่วประเทศ, หุ้นกู้เพื่อสร้างกระแสเงินสด และหุ้นไทยที่พร้อมไปด้วยทีมงานมากประสบการณ์  เพื่อตอบทุกโจทย์การลงทุนของคุณ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดต่อเปิดบัญชีได้ที่ : 

ฝ่ายบริหารสินทรัพย์ลงทุนลูกค้า

02-625-2442

wealth-management@fnsyrus.com

ติดตามเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงก์ด้านล่าง

Web : https://www.finansiawealth.com/

Facebook : https://www.facebook.com/FinansiaWealth?mibextid=LQQJ4d

Yotube : https://youtube.com/@finansiasyrusfnsyrus?si=zgv2lBycsiXBkaKd